
PMS (Premenstrual Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นตะคริว อ่อนเพลีย หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย เป็นต้น
เมื่อใกล้ช่วงมีประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีอาการดังกล่าวมากบ้าง น้อยบ้าง แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันหรืออย่างน้อยที่สุดก็บรรเทาได้หาก"เลือก"หรือ"เลี่ยง" การรับประทานอาหารบางประเภทในช่วงมีประจำเดือน
"เลือก"
แมงกานีส นักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่าแมงกานีสช่วยให้การมีประจำเดือนดำเนินไปอย่างปกติ ช่วงที่มีประจำเดือนควรรับประทานอาหารที่มีแมงกานีสได้แก่ ธัญพืช ถั่ว ผัก และผลไม้โดยเฉพาะสับปะรด
แคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากที่เคยรับประทานอยู่เป็นประจำ เช่น ตับ ปลาตัวเล็กตัวน้อย กะปิ กุ้ง ผักใบเขียวเช่นคะน้า ผลจากการวิจัยพบว่า แคลเซียมช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการมีประจำเดือนได้อย่างเห็นได้ชัด เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง หงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า
คาร์โบไฮเดรต ช่วยลดผลกระทบทางอารมณ์อย่างได้ผลในช่วงที่เป็นประจำเดือน เช่น อาการหงุดหงิด เครียด อารมณ์เสีย รวมทั้งอาการอ่อนเพลีย เพราะคาร์โบไฮเดรตช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเซอโรโทนินซึ่งทำให้อารมณ์ดี มีจิตใจแจ่มใสขึ้น แต่ถ้ากลัวเรื่องน้ำหนักเพิ่มในการกินคาร์โบไฮเดรต ก็ควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพเช่น ธัญพืชหรือข้าวกล้อง เป็นต้น
"หลีกเลี่ยง"
"หลีกเลี่ยง"
กาเฟอีน ผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงจีนที่ดื่มกาแฟวันละ 1 1/2-4 ถ้วย มีอาการต่างๆทั้งทางร่างกายและอารมณ์ก่อนการมีประจำเดือนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ถึง 2 เท่า จึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนในช่วงที่มีประจำเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ร่างกายอ่อนไหวต่อการบริโภคกาเฟอีนอยู่แล้ว
นอกจากการเลือกหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทแล้ว การออกกำลังกายอย่างสมำเสมอก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอาการไม่สบายเนื้อสบายตัวเหล่านี้ลงอย่างเห็นได้ชัด